วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-สกุล : นายอนุรักษ์ ตรียงค์
ชื่อเล่น : โอปอล
อายุ : 21 ปี
ศึกษาระดับ : ปริญาตรี ปี3
คณะ : พาณิชยศาสตร์และการจัดการ
สาขา : การจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
อยู่ที่ : มหาวิทยาลัย  สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
ความสนใจใน : สิ่งที่ตนสนใจ
คติประจำใจ : แคร์แต่คนที่แคร์เรา

Diary 1

ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider)
กระรอกบินออสเตรเลีย หรือที่เรียกกันว่า จิงโจ้บิน คือ สัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อนอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ หมีโคอะล่า และจิงโจ้ ชูการ์ไกลเดอร์ มี ถิ่นกำเนิดในเกาะแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย  พวกมันเป็นสัตว์หากินกลางคืน กลางวันจะชอบนอน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนต้นไม้ เป็นสัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นฝูง ประมาณ 6-10 ตัว นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี 2542 ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว  ทั้งนี้ ชูก้าไกลเดอร์ จะมีน้ำหนักประมาณ 90-150 กรัม  ขนาดของลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 12 นิ้ว  มีขนที่นิ่มละเอียด แน่น เป็นสีเทาหรือน้ำตาลตั้งแต่ลำตัวไปจนถึงหาง และ มีแถบสีดำหรือน้ำตาลเข้มที่เริ่มระหว่างตา และ แผ่ขยายไปจนถึงแผ่นหลัง มีดวงตาที่โปน และมีขนาดใหญ่ ข้างลำตัวมีผังผืด ที่เหยียดจากข้อมือไปจนถึงข้อเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งช่วยในการบิน หรือ ร่อน

Diary 2

สำหรับนิสัยของ ชูการ์ไกลเดอร์
ชูการ์ไกลเดอร์ เป็นสัตว์ที่ต้องการความสนใจ และ เอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ชูการ์ไกลเดอร์ เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น หากคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ ก็ต้องหมั่นสนใจและเล่นกับเขาบ่อยๆ ซึ่งหากเล่นกับเขาตั้งแต่ยังเล็ก เจ้าชูการ์ไกลเดอร์ ก็จะติดเจ้าของมาก
การเลือกซื้อ ชูการ์ไกลเดอร์
                ในปัจจุบัน ชูการ์ไกลเดอร์ ที่นำเข้ามาขายในไทยจะเป็นสายพันธุ์ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ไปมาก ทั้งนี้ ชูการ์ไกลเดอร์ สายพันธุ์ออสเตรเลียจะมีสีเงิน จากหน้าไปถึงหาง ส่วน ชูการ์ไกลเดอร์ พันธุ์อินโดนีเซียจะออกสีน้ำตาล หรือ ส้มๆ อย่างไรก็ตาม ในการเลือกซื้อควรเลือกซื้อ
ชูการ์ไกลเดอร์ ที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ควรเลือกตัวที่ซน ร่าเริง ปีนป่ายเก่งๆ แต่ปกติเรามักจะไม่ค่อยได้เห็น เพราะชูการ์ไกลเดอร์ เป็นสัตว์กลางคืน ตอนกลางวันจึงเอาแต่นอน 

Diary 3

อาหาร และ การเลี้ยงดู
              สำหรับวิธีการเลี้ยง ต้องเตรียมกล่อง หรือ กรงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ควรมีความสูงมากกว่าความกว้าง เพราะ ชูการ์ไกลเดอร์ ชอบกระโดดและปีนป่าย แนะนำให้หากิ่งไม้หรือที่สำหรับปีนป่ายได้ด้วยก็จะยิ่งดี ภายในกล่องหรือกรงควรมีช่องการระบายอากาศที่ดีพอสมควร นอกจากนี้ควรมีถุงนอนหรือผ้าจัดไว้ให้ด้วย เพราะชูการ์ ไกลเดอร์ชอบนอนซุกตามถุงผ้า หรือโพรง เนื่องจากสัตว์พันธุ์นี้ขี้หนาว
ในเรื่องอาหารการกิน ชูการ์ไกลเดอร์ สามารถกินอาหารได้หลายประเภท คือ กินได้ทั้งพืช และ สัตว์ ชอบกินผลไม้รสหวานอย่างกล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ มะม่วงสุก แตงโม ฯลฯ ทั้งนี้ ควรให้กินผลไม้หลากชนิดสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับวิตามินครบถ้วน นอกจากนี้ควรให้กินแมลงบ้าง เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนนก เพื่อ เพิ่มโปรตีน
และแม้ว่า ชูการ์ไกลเดอร์ มักจะทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอก็ตาม แต่เมื่อใดที่คุณสังเกตเห็นร่างกายของ ชูการ์ ไรเดอร์ สกปรกและเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็สามารถพามันไปอาบน้ำได้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ดตามลำตัว หรือ อาบน้ำ ฟอกสบู่ได้เลยแต่ต้องเร็วๆ จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้งเร็วๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปอดชื้น

Lecture 1

ออกแบบหน้าเว็บไซต์ (Page Design)
หน้าเว็บเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้จะได้เห็นขณะที่เปิดเข้าสู่เว็บไซต์ และยังเป็นสิ่งแรกที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการออกแบบเว็บไซต์อีกด้วย หน้าเว็บจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นสื่อกลางให้ผู้ชมสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบงานของเว็บไซต์นั้นได้ โดยปกติหน้าเว็บจะประกอบด้วย รูปภาพ ตัวอักษร สีพื้น ระบบเนวิเกชั่น และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยสื่อความหมายของเนื้อหาและอำนวยความสะดวกต่อการใช้งาน
หลักสำคัญในการออกแบบหน้าเว็บก็คือ การใช้รูปภาพและองค์ประกอบต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อสื่อความหมาย เกี่ยวกับเนื้อหาหรือลักษณะสำคัญของเว็บไซต์ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อการสื่อความหมายที่ชัดเจนและน่าสนใจ บนพื้นฐานของความเรียบง่ายและความสะดวกของผู้ใช้
องค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องคำนึงถึง องค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้
1. ความเรียบง่าย (Simplicity) หมายถึง การจำกัดองค์ประกอบเสริมให้เหลือเฉพาะองค์ประกอบหลัก กล่าวคือในการสื่อสารเนื้อหากับผู้ใช้นั้น เราต้องเลือกเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอจริง ๆ ออกมาในส่วนของกราฟิก สีสัน ตัวอักษรและภาพเคลื่อนไหว ต้องเลือกให้พอเหมาะ ถ้าหากมีมากเกินไปจะรบกวนสายตาและสร้างความคำราญต่อผู้ใช้ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบที่ดี ได้แก่ เว็บไซต์ของบริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Apple Adobe Microsoft หรือ Kokia ที่มีการออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานอย่างสะดวก
2. ความสม่ำเสมอ ( Consistency) หมายถึง การสร้างความสม่ำเสมอให้เกิดขึ้นตลอดทั้งเว็บไซต์ โดยอาจเลือกใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ก็ได้ เพราะถ้าหากว่าแต่ละหน้าในเว็บไซต์นั้นมีความแตกต่างกันมากจนเกินไป อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่ เพราะฉะนั้นการออกแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าควรที่จะมีรูปแบบ สไตล์ของกราฟิก ระบบเนวิเกชั่น (Navigation) และโทนสีที่มีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์
3. ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity) ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กรเป็นหลัก เนื่องจากเว็บไซต์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กร การเลือกใช้ตัวอักษร ชุดสี รูปภาพหรือกราฟิก จะมีผลต่อรูปแบบของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องออกแบบเว็บไซต์ของธนาคารแต่เรากลับเลือกสีสันและกราฟิกมากมาย อาจทำให้ผู้ใช้คิดว่าเป็นเว็บไซต์ของสวนสนุกซึ่งส่งผลต่อความเชื่อถือขององค์กรได้
4. เนื้อหา (Useful Content) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเว็บไซต์ เนื้อหาในเว็บไซต์ต้องสมบูรณ์และได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้พัฒนาต้องเตรียมข้อมูลและเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์ เนื้อหาที่สำคัญที่สุดคือเนื้อหาที่ทีมผู้พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง และไม่ไปซ้ำกับเว็บอื่น เพราะจะถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้ให้เข้ามาเว็บไซต์ได้เสมอ แต่ถ้าเป็นเว็บที่ลิงค์ข้อมูลจากเว็บอื่น ๆ มาเมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้ทราบว่า ข้อมูลนั้นมาจากเว็บใด ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องกลับมาใช้งานลิงค์เหล่านั้นอีก
5. ระบบเนวิเกชั่น (User-Friendly Navigation) เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อเว็บไซต์มาก เพราะจะช่วยไม่ให้ผู้ใช้เกิดความสับสนระหว่างดูเว็บไซต์ ระบบเนวิเกชั่นจึงเปรียบเสมือนป้ายบอกทาง ดังนั้นการออกแบบเนวิเกชั่น จึงควรให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้สะดวก ถ้ามีการใช้กราฟิกก็ควรสื่อความหมาย ตำแหน่งของการวางเนวิเกชั่นก็ควรวางให้สม่ำเสมอ เช่น อยู่ตำแหน่งบนสุดของทุกหน้าเป็นต้น ซึ่งถ้าจะให้ดีเมื่อมีเนวิเกชั่นที่เป็นกราฟิกก็ควรเพิ่มระบบเนวิเกชั่นที่เป็นตัวอักษรไว้ส่วนล่างด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ยกเลิกการแสดงผลภาพกราฟิกบนเว็บเบราเซอร์
6. คุณภาพของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในเว็บไซต์ (Visual Appeal) ลักษณะที่น่าสนใจของเว็บไซต์นั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลเป็นสำคัญ แต่โดยรวมแล้วก็สามารถสรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่น่าสนใจนั้นส่วนประกอบต่าง ๆ ควรมีคุณภาพ เช่น กราฟิกควรสมบูรณ์ไม่มีรอยหรือขอบขั้นบันได้ให้เห็น ชนิดตัวอักษรอ่านง่ายสบายตา มีการเลือกใช้โทนสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม เป็นต้น
7. ความสะดวกของการใช้ในสภาพต่าง ๆ (Compatibility) การใช้งานของเว็บไซต์นั้นไม่ควรมีขอบจำกัด กล่าวคือ ต้องสามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นใดเพิ่มเติม นอกเหนือจากเว็บบราวเซอร์ ควรเป็นเว็บที่แสดงผลได้ดีในทุกระบบปฏิบัติการ สามารถแสดงผลได้ในทุกความละเอียดหน้าจอ ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากและกลุ่มเป้าหมายหลากหลายควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก
8. ความคงที่ในการออกแบบ (Design Stability) ถ้าต้องการให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเว็บไซต์มีคุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ต้องออกแบบวางแผนและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ ถ้าเว็บที่จัดทำขึ้นอย่างลวก ๆ ไม่มีมาตรฐานการออกแบบและระบบการจัดการข้อมูล ถ้ามีปัญหามากขึ้นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาและทำให้ผู้ใช้หมดความเชื่อถือ
9. ความคงที่ของการทำงาน (Function Stability) ระบบการทำงานต่าง ๆ ในเว็บไซต์ควรมีความถูกต้องแน่นอน ซึ่งต้องได้รับการออกแบบสร้างสรรค์และตรวจสอบอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ลิงค์ต่าง ๆ ในเว็บไซต์ ต้องตรวจสอบว่ายังสามารถลิงค์ข้อมูลได้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเว็บไซต์อื่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ปัญหาที่เกิดจากลิงค์ ก็คือ ลิงค์ขาด ซึ่งพบได้บ่อยเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญกับผู้ใช้เป็นอย่างมาก

Lecture 2

การใช้สีในการออกแบบเว็บไซต์
การสร้างสีสันบนหน้าเว็บเป็นสิ่งที่สื่อความหมายของเว็บไซต์ได้อย่างชัดเจน การเลือกใช้สีให้เหมาะสม กลมกลืน ไม่เพียงแต่จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ แต่ยังสามารถทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเว็บไซต์ได้ สีเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับการตกแต่งเว็บ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สี
ระบบสีที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ มีระบบการแสดงผลผ่านหลอดลำแสงที่เรียกว่า CRT (Cathode ray tube) โดยมีลักษณะระบบสีแบบบวก อาศัยการผสมของของแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน หรือระบบสี RGB สามารถกำหนดค่าสีจาก 0 ถึง 255 ได้ จากการรวมสีของแม่สีหลักจะทำให้เกิดแสงสีขาว มีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ บนหน้าจอไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จะมองเห็นเป็นสีที่ถูกผสมเป็นเนื้อสีเดียวกันแล้ว จุดแต่ละจุดหรือพิกเซล (Pixel) เป็นส่วนประกอบของภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยจำนวนบิตที่ใช้ในการกำหนดความสามารถของการแสดงสีต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพบนจอนั้นเรียกว่า บิตเด็ป (Bit-depth) ในภาษา HTML มีการกำหนดสีด้วยระบบเลขฐานสิบหก ซึ่งมีเครื่องหมาย (#) อยู่ด้านหน้าและตามด้วยเลขฐานสิบหกจำนวนอักษรอีก 6 หลัก โดยแต่ละไบต์ (byte) จะมีตัวอักษรสองตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เช่น #FF12AC การใช้ตัวอักษรแต่ละไบต์นี้เพื่อกำหนดระดับความเข้มของแม่สีแต่ละสีของชุดสี RGB โดย 2 หลักแรก แสดงถึงความเข้มของสีแดง 2 หลักต่อมา แสดงถึงความเข้มของสีเขียว 2 หลักสุดท้ายแสดงถึงความเข้มของสีน้ำเงิน
            สีมีอิทธิพลในเรื่องของอารมณ์การสื่อความหมายที่เด่นชัด กระตุ้นการรับรู้ทางด้านจิตใจมนุษย์ สีแต่ละสีให้ความรู้สึก อารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน สีบางสีให้ความรู้สึกสงบ บางสีให้ความรู้สึกตื่นเต้นรุนแรง สีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการออกแบบเว็บไซต์ ดังนั้นการเลือกใช้โทนสีภายในเว็บไซต์เป็นการแสดงถึงความแตกต่างของสีที่แสดงออกทางอารมณ์ มีชีวิตชีวาหรือเศร้าโศก รูปแบบของสีที่สายตาของมนุษย์มองเห็น สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.             สีโทนร้อน (Warm Colors) เป็นกลุ่มสีที่แสดงถึงความสุข ความปลอบโยน ความอบอุ่น และดึงดูดใจ สีกลุ่มนี้เป็นกลุ่มสีที่ช่วยให้หายจากความเฉื่อยชา มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
2.             สีโทนเย็น (Cool Colors) แสดงถึงความที่ดูสุภาพ อ่อนโยน เรียบร้อย เป็นกลุ่มสีที่มีคนชอบมากที่สุด สามารถโน้มนาวในระยะไกลได้
3.             สีโทนกลาง (Neutral Colors) สีที่เป็นกลาง ประกอบด้วย สีดำ สีขาว สีเทา และสีน้ำตาล กลุ่มสีเหล่านี้คือ สีกลางที่สามารถนำไปผสมกับสีอื่น ๆ เพื่อให้เกิดสีกลางขึ้นมา
               สิ่งที่สำคัญต่อผู้ออกแบบเว็บคือการเลือกใช้สีสำหรับเว็บ นอกจากจะมีผลต่อการแสดงออกของเว็บแล้วยังเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้ใช้บริการ ดังนั้นจะเห็นว่าสีแต่ละสีสามารถสื่อความหมายของเว็บได้อย่างชัดเจน ความแตกต่าง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้เว็บมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ชุดสีแต่ละชุดมีความสำคัญต่อเว็บ ถ้าเลือกใช้สีไม่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอาจจะทำให้เว็บไม่น่าสนใจ ผู้ใช้บริการจะไม่กลับมาใช้บริการอีกภายหลัง ฉะนั้นการใช้สีอย่างเหมาะสมเพื่อสื่อความหมายของเว็บต้องเลือกใช้สีที่มีความกลมกลืนกัน

Lecture 3

ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์
-  กราฟฟิกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของเว็บเพจ  ช่วยสื่อความหมายสร้างความเข้าใจให้กับผุ้ใช้  รวมทั้งช่วยสร้างความสวยงามให้เว็บไซต์น่าดูยิ่งขึ้น
-  ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับการสร้างกราฟฟิกคือ  การเลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของรูป  โดยไม่รู้จักความแตกต่างของรูปแบบกราฟฟิก  ส่งผลให้รูปที่ได้มีลักษณะไม่สมบูรณ์และมีไฟล์ใหญ่เกินความจำเป็น
รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ   ( GIF , JPG , และ PNG)
GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format
- ได้รับความนิยมในยุคแรก
-  มีระบบเสียงแบบ  Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากสุด  256 สี
-  มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล  เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น
JPG  ย่อมาจาก  Joint Photographic Experts Group
-มีข้อมูลสีขนาด  24  บิต  (True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง  16.7  ล้านสี
-  ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย  (lossy)
-  ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด
PNG  ย่อมาจาก  Portable  Network  Graphic
-สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง  8  บิต  16  บิต  และ  24  บิต
-  มีระบบการบีบอัดแบบ  Deflate  ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย  (lossless)
-  มีระบบการควบคุมแกมม่า  (Gamma)  และความโปร่งใส  (Transparency)  ในตัวเอง